วิธีขอสินเชื่อคนพิการ กู้เงินคนพิการ2566 เพื่อประกอบอาชีพคนละ 60,000 บาท

 


รู้หรือไม่? ว่าผู้พิการและผู้ดูแลคนพิการสามารถขอกู้เงินได้ถึง 60,000 บาท เพื่อเป็นทุนประกอบออาชีพ หากใครยังไม่ทราบ วันนี้มีข้อมูลดี ๆ มาฝาก 

ข้อมูลจาก : กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ


การกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพของคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ

กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นกองทุนหมุนเวียน ที่มาของเงิน ประกอบด้วย เงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงินสมทบจากสถานประกอบการ เงินบริจาค ดอกเบี้ยจากเงินกองทุน

โดยเปิดให้บริการกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพสำหรับคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้



คุณสมบัติของผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน

1.1 คุณสมบัติของผู้กู้ยืมรายบุคคล

กรณีคนพิการเป็นผู้กู้ยืม

  1. มีบัตรประจําตัวคนพิการ
  2. มีความจําเป็นในการขอรับการสนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพในท้องที่ที่ยื่นคําขอ
  3. มีความสามารถในการประกอบอาชีพในเรื่องที่ขอรับการสนับสนุน
  4. บรรลุนิติภาวะ เว้นแต่คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนจะเห็นเป็นอย่างอื่น
  5. มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านหรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในท้องที่ที่ยื่นคำขอกู้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
  6. ไม่มีประวัติเสียหายในการกูเงินจากกองทุน เว้นแต่ได้ดำเนินการแก้ไขมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือเป็นกรณีคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนจะเห็นเป็นอย่างอื่น
  7. กรณีมีหนี้สินอยู่กับกองทุนต้องได้ชําระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของวงเงินกู้ยืมทั้งหมดและเมื่อได้การอนุมัติแล้วต้องชําระหนี้สินที่มีอยู่เดิมทั้งหมด
  8. มีความสามารถชำระคืนเงินกู้ยืม โดยมีบุคคลค้ำประกันการกู้ยืม ดังนี้
    – บุคคลธรรมดาที่น่าเชื่อถือได้
    – องค์กรตามประเภทความพิการหรือองค์กรของคนพิการที่เป็นนิติบุคคล และมีวัตถุประสงค์ เพื่อการค้ำประกันให้กับสมาชิกเป็นผู้ค้ำประกัน

กรณีผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้กู้ยืม

  1. มีความจําเป็นในการขอรับการสนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพในท้องที่ที่ยื่นคําขอ
  2. มีความสามารถในการประกอบอาชีพในเรื่องที่ขอรับการสนับสนุน
  3. บรรลุนิติภาวะ เว้นแต่คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนจะเห็นเป็นอย่างอื่น
  4. มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านหรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในท้องที่ที่ยื่นคำขอกู้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
  5. ไม่มีประวัติเสียหายในการกูเงินจากกองทุน เว้นแต่ได้ดำเนินการแก้ไขมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือเป็นกรณีคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนจะเห็นเป็นอย่างอื่น
  6. กรณีมีหนี้สินอยู่กับกองทุนต้องได้ชําระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของวงเงินกู้ยืมทั้งหมดและเมื่อได้การอนุมัติแล้วต้องชําระหนี้สินที่มีอยู่เดิมทั้งหมด
  7. มีความสามารถชำระคืนเงินกู้ยืม โดยมีบุคคลค้ำประกันการกู้ยืม ดังนี้
    – บุคคลธรรมดาที่น่าเชื่อถือได้
    – องค์กรตามประเภทความพิการหรือองค์กรของคนพิการที่เป็นนิติบุคคล และมีวัตถุประสงค์ เพื่อการค้ำประกันให้กับสมาชิกเป็นผู้ค้ำประกัน
  8. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  9. ได้รับการรับรองเป็นหนังสือจากผู้แทนองค์กรด้านคนพิการ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา ข้าราชการระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือมีหลักฐานเชื่อได้ว่าเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการซึ่งมิได้มีหนี้สิน จากกองทุน

 1.2 คุณสมบัติของผู้กู้ยืมรายกลุ่ม

  1. เป็นกลุ่มคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่รวมตัวกันโดยมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนกันนหรือทำกิจกรรมอันชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรมร่วมกัน ต้องมีสมาชิกกลุ่มไม่น้อยกว่าสองคน ซึ่งสมาชิกสามารถเป็นผู้ค้ำประกันให้กันและกันได้
  2. มีหลักฐานจากสถาบันการเงินเกี่ยวกับการออมเงินของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอมาแล้วไม่น้อยกว่าสามเดือน
  3. สมาชิกในกลุ่มต้องผ่านการฝึกอบรมอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานหรือองค์กรที่จัดฝึกอบรม และต้องเป็นอาชีพเดียวกันหรือแบบเดียวกันกับอาชีพที่กู้ยืมเงินไปลงทุน
  4. ได้รับการรับรองเป็นหนังสือรับรองจากองค์กรด้านคนพิการที่เป็นนิติบุคคลหรือหน่วยงาน ภาครัฐว่าเป็นกลุ่มที่มีการรวมกลุ่มกันจริง
  5. มีแผนงานหรือโครงการของกลุ่มที่จะดำเนินการต่อไปอย่างชัดเจน
  6. กลุ่มคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่รวมตัวกันต้องมีคำว่า “กลุ่ม” ประกอบชื่อ
  7. กลุ่มคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่รวมตัวกันต้องมีสถานที่ทำการที่แน่นอน

 1.3 คุณสมบัติของผู้ค้ำประกัน

  1. มีความสามารถในการทำนิติกรรม
  2. มีภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่งมั่นคงมีอาชีพ และมีรายได้มั่นคง และมีชื่อในทะเบียนบ้านในท้องที่ที่ยื่นขอกู้ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  3. ต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีประวัติการค้างชำระหนี้เงินกองทุนติดต่อกัน 2 งวด
  4. ต้องไม่เป็นสามีหรือภรรยาของผู้กู้ตามกฎหมาย
  5. เอกสารประกอบการยื่นคำขอกู้ยืมของผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน

    1.1 เอกสารประกอบการยื่นคำขอกู้ยืมเงินรายบุคคล

    กรณีคนพิการเป็นผู้กู้ยืม

    1. สมุดหรือบัตรประจำตัวคนพิการ (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
    2. บัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
    3. ทะเบียนบ้าน (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
    4. หนังสือรับรองการอยู่อาศัย (ทั้งในกรณีอาศัยอยู่ในบ้านเช่าหรือไม่ใช่บ้านเช่า แนบด้วยสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้านดังกล่าว พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
    5. แผนที่แสดงที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้าน หรือที่อยู่ ณ ปัจจุบัน และสถานที่ประกอบอาชีพ (เขียนรายละเอียดแผนที่ให้ถูกต้องและชัดเจนลงในกระดาษเปล่า จำนวน 1 ใบ)
    6. หนังสือยินยอมคู่สมรสในกรณีจดทะเบียนสมรส แนบด้วยสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส สำเนาทะเบียนสมรส พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://web1.dep.go.th/sites/default/files/images/document/nepfund1_1.pdf)
    7. หลักฐานการศึกษา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิที่ผ่านการฝึกอาชีพ ถ้ามี (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
    8. รูปถ่ายเต็มตัวปัจจุบันขนาด 4X6 นิ้ว จำนวน 1 รูป
    9. ใบประมาณการค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ (เขียนข้อมูลลงในกระดาษเปล่า จำนวน 1 ใบ)
    10. แบบคำร้องขอกู้ยืมเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประเภทการกู้ยืมของคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการเป็นรายบุคคล (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://web1.dep.go.th/sites/default/files/images/document/nepfund1_1.pdf)
    11. กรณียื่นกู้ครั้งที่ 2 ขึ้นไป ให้แนบสำเนาใบเสร็จในการชำระหนี้ หรือสำเนาสมุดหักลดยอดหนี้ (หน้าแรกที่มีเลขที่สัญญาและหน้าสุดท้ายของการชำระเงินงวดสุดท้าย) และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ
    12. กรณียื่นคำขอกู้เพื่อค้าสลากฯ ที่มีโควตาสลากฯ ให้แนบสำเนาบัตรหรือสำเนาเอกสารยืนยันพร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือในการรับสลากฯ จากแหล่งที่ได้รับ เช่น สภาสังคมสงเคราะห์ฯ หรือกองสลากฯ เป็นต้น

    กรณีผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้กู้ยืม

    1. บัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
    2. ทะเบียนบ้าน (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
    3. หนังสือรับรองการอยู่อาศัย (ทั้งในกรณีอาศัยอยู่ในบ้านเช่าหรือไม่ใช่บ้านเช่า แนบด้วยสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้านดังกล่าว พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
    4. แผนที่แสดงที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้าน หรือที่อยู่ ณ ปัจจุบัน และสถานที่ประกอบอาชีพ (เขียนรายละเอียดแผนที่ให้ถูกต้องและชัดเจนลงในกระดาษเปล่า จำนวน ใบ)
    5. หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลหรือผู้อุปการะคนพิการ ในกรณีไม่มีชื่อผู้ดูแลในบัตรคนพิการ แนบด้วยสำเนาบัตรประชาชนผู้รับรอง พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://web1.dep.go.th/sites/default/files/images/document/nepfund1_1.pdf)
    6. ใบรับรองแพทย์ของคนพิการ ในกรณีคนพิการมีสภาพความพิการรุนแรง ระบุว่าคนพิการไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้
    7. หนังสือยินยอมคู่สมรสในกรณีจดทะเบียนสมรส แนบด้วยสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส สำเนาทะเบียนสมรส พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://web1.dep.go.th/sites/default/files/images/document/nepfund1_1.pdf)
    8. หลักฐานการศึกษา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิที่ผ่านการฝึกอาชีพ ถ้ามี (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
    9. รูปถ่ายเต็มตัวคู่กับคนพิการปัจจุบันขนาด 4X6 นิ้ว จำนวน รูป
    10. ใบประมาณการค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ (เขียนข้อมูลลงในกระดาษเปล่า จำนวน ใบ)
    11. แบบคำร้องขอกู้ยืมเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประเภทการกู้ยืมของคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการเป็นรายบุคคล (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://web1.dep.go.th/sites/default/files/images/document/nepfund1_1.pdf)
    12. กรณียื่นกู้ครั้งที่ ขึ้นไป ให้แนบสำเนาใบเสร็จในการชำระหนี้ หรือสำเนาสมุดหักลดยอดหนี้ (หน้าแรกที่มีเลขที่สัญญาและหน้าสุดท้ายของการชำระเงินงวดสุดท้าย) และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ
    13. กรณียื่นคำขอกู้เพื่อค้าสลากฯ ที่มีโควตาสลากฯ ให้แนบสำเนาบัตรหรือสำเนาเอกสารยืนยันพร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือในการรับสลากฯ จากแหล่งที่ได้รับ เช่น สภาสังคมสงเคราะห์ฯ หรือกองสลากฯ เป็นต้น

     1.2 เอกสารประกอบการยื่นคำขอกู้ยืมเงินรายกลุ่ม (ใช้เอกสารของตัวแทนกลุ่ม)

    1. สมุดหรือบัตรประจำตัวคนพิการ และบัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
    2. ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ (กรณีผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้ขอกู้แทนคนพิการให้ใช้ของผู้ดูแล)
    3. แผนที่แสดงที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้าน หรือที่อยู่ ณ ปัจจุบัน และสถานที่ประกอบอาชีพ (เขียนรายละเอียดแผนที่ให้ถูกต้องและชัดเจนลงในกระดาษเปล่า จำนวน 1 ใบ)
    4. โครงการประกอบอาชีพของกลุ่ม
    5. หนังสือรับรองการอยู่อาศัย (ทั้งในกรณีอาศัยอยู่ในบ้านเช่าหรือไม่ใช่บ้านเช่า แนบด้วยสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้านดังกล่าว พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
    6. หนังสือรับรองขององค์กรคนพิการหรือองค์กรเพื่อคนพิการ
    7. หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลหรือผู้อุปการะคนพิการ ในกรณีผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้ขอกู้แทนคนพิการ (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://web1.dep.go.th/sites/default/files/images/document/nepfund1_1.pdf)
    8. ใบรับรองแพทย์ของคนพิการ ในกรณีคนพิการมีสภาพความพิการรุนแรง ระบุว่าคนพิการไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้และผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้ขอกู้แทนคนพิการ
    9. รูปถ่ายเต็มตัวของผู้กู้ ขนาด 4X6 นิ้ว ปัจจุบัน จำนวน 1 รูป  ในกรณีผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้ขอกู้แทนคนพิการต้องถ่ายคู่กับคนพิการด้วย
    10. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
    11.  1.3 เอกสารผู้ค้ำประกัน

      1. บัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
      2. ทะเบียนบ้าน (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
      3. แผนที่แสดงที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้าน หรือที่อยู่ ณ ปัจจุบัน และสถานที่ประกอบอาชีพ (เขียนรายละเอียดแผนที่ให้ถูกต้องและชัดเจนลงในกระดาษเปล่า จำนวน 1 ใบ)
      4. หนังสือรับรองเงินเดือนฉบับจริงที่ต้นสังกัดของผู้ค้ำประกันฯ ออกให้ หรือกรณีเป็นเจ้าของ กิจการธุรกิจส่วนตัว ให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากแสดงรายได้ ย้อนหลัง 6 เดือน ณ ปัจจุบัน และทะเบียนการค้า (ถ้ามี) (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
      5. หนังสือยินยอมคู่สมรสในกรณีจดทะเบียนสมรส แนบด้วยสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส สำเนาทะเบียนสมรส พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://web1.dep.go.th/sites/default/files/images/document/nepfund1_1.pdf)

      สถานที่ยื่นคำร้องขอกู้ยืมเงิน

      จะต้องไปติดต่อยื่นคำร้องด้วยตนเองที่จังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่หรือจังหวัดที่ตนเองประกอบอาชีพอยู่ ดังนี้

      • กรุงเทพฯ: กองทุนและส่งเสริมความเสมอภาคคนพิการ (ตึกนิวยอร์ก) ชั้น 2 บริเวณสถานีรถไฟสามเสน แขวงสามเสนใน กรุงเทพมหานคร หรือศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน เขต 1-50
      • ส่วนภูมิภาค: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่หรือที่ประกอบอาชีพอยู่

      ติดต่อสอบถามรายละเอียด

    12. กรุงเทพฯ: กองทุนและส่งเสริมความเสมอภาคคนพิการ (ตึกนิวยอร์ก) ชั้น 2 บริเวณสถานีรถไฟสามเสน แขวงสามเสนใน กรุงเทพมหานคร โทร. 02-106-9300, 02-106-9327-31 หรือศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน เขต 1-50
    13. ส่วนภูมิภาค: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด รายละเอียดการติดต่อ https://www.m-society.go.th/news_view.php?nid=10783


ความคิดเห็น